ประวัติของเรา

"House Foods Group เข้ามาปฏิวัติวงการอาหารในหลายๆ ด้านผ่านการสร้างวัฒนธรรมแกงกะหรี่ของญี่ปุ่น
เราขอเสนอประวัติของ House Foods ดังนี้

ยุคไทโช

วัฒนธรรมอาหารตะวันตกเริ่มเข้าสู่ญี่ปุ่น

ยุคไทโชเป็นที่รู้จักในด้านการตั้งกลุ่มการเงินและธนาคาร และการถือกำเนิดของ ""มนุษย์เงินเดือน”
อาหารตะวันตกที่สำคัญสามอย่างคือ โครเก็ต ทงคัตสึ (หมูทอดกรอบ) และแกงกะหรี่ กลายเป็นที่นิยมควบคู่ไปกับการขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่อง จากนั้น การผสานอิทธิพลจากอาหารตะวันตกเข้าไปในอาหารญี่ปุ่นจึงเริ่มขึ้น

ค.ศ. 1913 - ปีที่ 2 ของยุคไทโช

มี “ผงกะหรี่” จำหน่ายเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น

เซสึเกะ อูระคามิ ผู้ก่อตั้ง “Urakami Shoten” ร้านค้าวัสดุเคมีทางการแพทย์และผู้บุกเบิก House Foods Group ได้รับคำขอจากลูกค้าให้จำหน่ายผงกะหรี่บรรจุขวด เขาใช้โอกาสนี้ในการอุทิศตัวเองเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผงกะหรี่
นั่นเป็นก้าวแรกสู่วัฒนธรรมแกงกะหรี่ของ House Group

ค.ศ. 1926 - ปีที่ 15 ของยุคไทโช

เริ่มมีการผลิตและการจำหน่าย “Home Curry”

เซสึเกะ อูระคามิได้รับสืบทอดโรงงานโคซะกะ (ซึ่งปัจจุบันคือ Higashi-osaka ที่เมืองโอซากา) พร้อมเครื่องหมายการค้าและสิทธิในการจำหน่าย “Home Curry” จาก Inada Food Factory และเริ่มการผลิตอาหารและธุรกิจการตลาดด้านอาหารอย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนมากในเวลานั้นที่ไม่เคยรับประทานและไม่เคยเห็นแกงกะหรี่มาก่อน จึงกล่าวได้ว่าเซสึเกะต้องเผชิญกับความยากลำบากในการทำธุรกิจยุคแรกๆ ของเขา

โรงงานโคซะกะของ Urakami Shoten
ค.ศ. 1935 - ปีที่ 10 ของยุคโชวะ
ค.ศ. 1926 หนังสือพิมพ์ Osaka Asahi Shimbun

ต้นยุคโชวะ

วัฒนธรรมการให้บริการอาหารตะวันตก

แม้ว่าอาหารตะวันตกจะได้รับความนิยมในฐานะอาหารที่ทำทานในบ้านอย่างช้าๆ แต่การรับประทานอาหารตะวันตกนอกบ้านก็ยังได้รับความนิยมอย่างมาก
อาหารตะวันตกได้รับความนิยมในร้านอาหารราคาถูกทั่วประเทศ

ค.ศ. 1928 - ปีที่ 3 ของยุคโชวะ

"การถือกำเนิดของ “House Curry”
การโฆษณาเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมนี้ด้วยการสาธิตวิธีการปรุงจากผลิตภัณฑ์"

เซสึเกะ ผู้ซึ่งทำยอดขายของเขาเองให้กระเตื้องขึ้นได้อย่างช้าๆ จากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ได้รับการบอกกล่าวจากยาสุโยะ ภรรยาของเขาว่า “แนวคิดการ ‘ทำทานที่บ้าน’ ไม่ใช่สิ่งที่คนญี่ปุ่นทำกัน... แต่มันควรเป็น “ร้าน!” เมื่อได้รับคำยืนยันจากภรรยา เซสึเกะจึงมั่นใจว่า “House” คือคำที่สมบูรณ์แบบสำหรับแบรนด์ญี่ปุ่นของเขา
ดังนั้น เขาจึงเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น “House Curry” เขาได้พัฒนาทักษะในการสาธิตเพื่อการโฆษณาและเน้นไปที่การสร้างแบรนด์ โดยเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมที่โฆษณาผลิตภัณฑ์โดยการสาธิตวิธีปรุง เขาทำแกงกะหรี่ต่อหน้าลูกค้าแล้วให้พวกเขาชิม

โตเกียว ประมาณปี ค.ศ. 1933

ค.ศ. 1952 - ปีที่ 27 ของยุคโชวะ

การส่งเสริมการขายโดยใช้ “รถบรรทุกโฆษณา”

การใช้รถบรรทุกโฆษณาที่ตกแต่งให้เหมือนกับกล่องผลิตภัณฑ์ “Instant House Curry” ช่วยให้ยอดขายของเขาเติบโตเป็นอย่างมาก
รถบรรทุกจอดหน้าร้านค้าขนาดเล็กทั่วประเทศและเล่นเพลงโฆษณา ในระหว่างที่ผู้ประกาศโฆษณาสินค้าผ่านไมโครโฟนพร้อมกับนักดนตรีเล่นเพลงประกอบ
รถบรรทุกโฆษณากลายเป็นที่นิยมอย่างมากจนลูกค้าทั่วประเทศต้องการให้รถบรรทุกโฆษณาไปถึงพื้นที่ของตน

ค.ศ. 1952
ค.ศ. 1954

ช่วงกลางถึงปลายยุคโชวะ

การรับประทานอาหารในยุคหลังสงครามและยุคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง

เนื่องจากสงคราม เซสึเกะจึงต้องหยุดการขยายวัฒนธรรมอาหารตะวันตกของเขา อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงหลังสงครามทำให้ครอบครัวทั่วไปสามารถทำอาหารตะวันตกทานเองที่บ้านได้

ค.ศ. 1963 - ปีที่ 38 ของยุคโชวะ

การถือกำเนิดของ "แกงกะหรี่ Vermont"

ในทศวรรษ 1960 แกงกะหรี่มีรสจัดมาก และถูกจัดให้เป็นอาหารสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น เราต้องการทำแกงกะหรี่ที่เป็นที่ชื่นชอบของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ "แกงกะหรี่ Vermont" ของ House จึงถือกำเนิดขึ้น แกงกะหรี่ Vermont ได้กลายเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมของการทำอาหารที่บ้านในญี่ปุ่น

ค.ศ. 1971 - ปีที่ 46 ของยุคโชวะ

ครั้งแรกของผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่ปรุงสำเร็จจาก House Foods แบบบรรจุถุง

เราใช้คำว่า “Kukure” ซึ่งหมายถึง “ไม่ต้องปรุง” ในการตั้งชื่อแบรนด์นี้ เพราะคุณสามารถเก็บแกงกะหรี่ไว้ในอุณหภูมิห้องได้เป็นเวลานาน เพียงแค่นำมาอุ่นก็รับประทานได้แล้ว สินค้าใหม่นี้มีชื่อว่า “House Kukure Curry”
แม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ปรุงสำเร็จบรรจุถุงอื่นๆ นอกเหนือจากแกงกะหรี่ที่วางจำหน่ายมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้รับเสียงตอบรับที่ดีนัก โดยทำยอดขายรวมได้ไม่เกิน 12 พันล้านเยน ณ เวลานั้น
แม้ว่า Kukure Curry จะต้องต่อสู้อย่างหนักในช่วงแรก แต่เราทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การขายครั้งสำคัญโดยการเปลี่ยนภาพลักษณ์ในตลาดให้แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
หน้าร้านที่เรียงรายไปด้วยแกงกะหรี่รสเผ็ดน้อยกล่องสีแดงและรสเผ็ดกล่องสีเหลือง พร้อมข้อความโฆษณาว่า “อาหารปีใหม่คืออาหารอร่อย แกงกะหรี่ก็อร่อยเช่นกัน!” กลายเป็นหัวข้อที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางและวางรากฐานให้กับแกงกะหรี่ปรุงสำเร็จ

ยุคเฮเซ

เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

อาจกล่าวได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่ต้องคำนึงถึงความสำคัญและความหลากหลายของอาหาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของขนาดและจำนวนคนในแต่ละช่วงอายุในครอบครัว

ค.ศ. 2007 - ปีที่ 19 ของยุคเฮเซ

อาหารสู่อวกาศ

หนึ่งในสามผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่สไตล์ญี่ปุ่นปรุงสำเร็จที่ได้รับการพัฒนาโดยองค์การสำรวจอวกาศของญี่ปุ่น (JAXA) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับนักบินอวกาศชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ได้มีการวางจำหน่ายและทำการตลาดในชื่อ “Space Curry” (เนื้อวัว) และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2017
เพื่อให้เข้ากับการใช้ชีวิตในอวกาศ ซึ่งแตกต่างกับโลกเป็นอย่างมากเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่มีค่าเป็นศูนย์และรังสีคอสมิค เราจึงคิดค้นแกงกะหรี่ที่แตกต่างออกไปโดยเพิ่มขมิ้นและแคลเซียมเพื่อให้รสชาติเข้มข้นเผ็ดร้อนกว่าแบรนด์แกงกะหรี่ปรุงสำเร็จตามปกติของเรา

ค.ศ. 2011 - ปีที่ 23 ของยุคเฮเซ

การเปิดตัวผลิตภัณฑ์มีประโยชน์ในช่วงภัยพิบัติ

ปี 2011 เป็นปีที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกของญี่ปุ่น
House Foods วางจำหน่ายแกงกะหรี่ที่ไม่จำเป็นต้องอุ่นร้อนก่อนรับประทาน และสามารถใช้เป็นอาหารฉุกเฉินในช่วงภัยพิบัติได้
แกงกะหรี่ที่ผลิตขึ้นโดยไม่มีส่วนผสมเฉพาะเจ็ดอย่างนี้ (ไข่ นม ข้าวสาลี บัควีท ถั่วลิสง กุ้งและปู) ทำให้ทุกคนสามารถรับประทานด้วยความสบายใจและใช้เวลาปรุงน้อย แกงกะหรี่สูตรนี้จึงช่วยได้ในหลายสถานการณ์

ค.ศ. 2013 - ปีที่ 25 ของยุคเฮเซ

50 ปีนับตั้งแต่การเปิดตัว “Vermont Curry”

“Vermont Curry” ก่อตั้งขึ้นในปี 1963 ผ่านการทดลองและข้อผิดพลาดจากแนวคิดของ อิคูโอะ อูราคามิ รองประธานบริษัทในขณะนั้น เพื่อให้ได้แกงกะหรี่ที่รับประทานร่วมกับเด็กๆ ได้ แกงกะหรี่กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในอีกหลายเดือนหลังจากวางจำหน่าย และปัจจุบันจำหน่ายเป็นจำนวนมหาศาลถึง 2.1 พันล้านหน่วยต่อปี
หากคุณนำกล่องแกงกะหรี่ขนาดต่างๆ ที่ผลิตขึ้นทั้งหมดในหนึ่งปีมากองซ้อนกัน กองนี้จะมีขนาดสูงกว่าภูเขาฟูจิซึ่งมีความสูงถึง 3,776 เมตรถึง 700 เท่า
แกงกะหรี่ได้วางรากฐานและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะอาหารประจำชาติ